วันอาทิตย์ ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564, 06.00 น.
“พื้นที่ 2 ไร่ ปลูกผลไม้ยืนต้นเป็นหลักเช่น ลิ้นจี่ ลำไย น้อยหน่า ฯลฯ นอกจากนั้นมีไม้ล้มลุก ผักสวนครัวที่ปลูกไว้ระหว่างแนวที่ปลูกผลไม้ เพื่อเป็นผลผลิตบริโภคในครัวเรือน แบ่งปันให้เพื่อนบ้าน ส่วนผลผลิตที่เหลือก็จะเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้เองเพื่อปลูกและขยายพันธุ์ต่อไป อีกส่วนส่งเข้าธนาคารเมล็ดพันธุ์ของชุมชน ในช่วงที่เกิดการระบาดของโควิด-19เรามีอาหารบริโภคพอเพียง ปลูกเอง บริโภคเองจะเกิดโควิดกี่ครั้ง ก็ไม่ได้รับผลกระทบ“คำบอกเล่าของ ชุมพล สำราญสลุง หรือ ลุงพล ชาวบ้านหมู่ 4 ตำบลโคกสลุง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ที่มีอาชีพทำนา และจัดสรรพื้นที่ของตัวเอง 3 ไร่ สำหรับปลูกไม้ยืนต้นและผักสวนครัว เพื่อเก็บผลผลิตไว้บริโภคเองในครัวเรือน ลุงพล เป็นสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมปลูกผักตามวิธีธรรมชาติ ภายใต้โครงการยุทธศาสตร์สร้างสุขชุมชนพื้นที่เขาพระยาเดินธง ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับชุมชน โดยมีภาคเอกชน คือ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ สนับสนุนอุปกรณ์ เช่น ถังกักเก็บน้ำ สายยางฉีดน้ำ สายยางเพื่อทำระบบน้ำหยด สำหรับใช้ในการปลูกผักของชาวบ้าน
ปัจจุบัน โครงการปลูกผักตามวิถีธรรมชาติ มีชาวบ้านรอบพื้นที่เขาพระยาเดินธงที่เข้าร่วมโครงการครอบคลุมพื้นที่ 7 หมู่บ้าน 2 ตำบล คือ ตำบลห้วยบง และตำบลโคกสลุง ชนิดของผลไม้และผักที่ปลูก97 ชนิด โดยเฉพาะผักพื้นบ้าน อาทิ มะเขือม่วงลิง มะเขือคางกบ มะเขือกรอบขาว มะเขือม่วงพราว มะเขือหยดน้ำทิพย์ มะเขือไข่เต่าข้าวโพด ข้าวโพดเทียน กระเจี๊ยบมณีแม่โจ้ถั่วฝักยาวแดง เป็นต้น สมาชิกในกลุ่มมีทั้งปลูกผักเพื่อบริโภคในครัวเรือน ปลูกผักเพื่อบริโภคในครัวเรือนและแบ่งขาย และปลูกผักเพื่อบริโภคและเก็บเมล็ดพันธุ์
น้ำเพชร กรตุ้มอายุ 28 ปี ชาวบ้านหมู่ 11 ต.โคกสลุงอ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรีเข้าร่วมกิจกรรมปลูกผักตามวิถีธรรมชาติ มีรายได้จากการขายผักเดือนละ3,000 บาท ที่เป็นค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิต น้ำเพชร เล่าว่า ปลูกผักขายตั้งแต่ก่อนที่ซีพีเอฟจะเข้ามาสนับสนุนกิจกรรมปลูกผักตามวิถีธรรมชาติ หลังจากที่ซีพีเอฟเข้ามาก็ได้รับการสนับสนุนถังกักเก็บน้ำสายยางฉีดน้ำ และระบบน้ำหยด ช่วยได้มากผักที่ปลูกไว้เพื่อบริโภคเองและขาย มีทั้งมะเขือพวง ฟักทอง มะกอก กล้วย ผักกาดขาวกวางตุ้ง คะน้า ฯลฯ นอกจากผลผลิตผักที่นำมาบริโภคเองแล้ว ที่ผ่านมา ได้เก็บเมล็ดพันธุ์พืชเช่น ถั่วฝักยาว บวบ ส่งเข้าธนาคารเมล็ดพันธุ์เพื่อให้คนอื่นๆ ที่สนใจนำไปปลูกและขยายพันธุ์ต่อไป
สุธี สมุทระประภูต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟ กล่าวว่าโครงการยุทธศาสตร์สร้างสุขชุมชนพื้นที่เขาพระยาเดินธง เป็นโครงการที่ซีพีเอฟสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน ต่อยอดจากการดำเนิน “โครงการซีพีเอฟรักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง” โดยส่งเสริมชุมชนที่อาศัยรอบพื้นที่เขาพระยาเดินธง ทำโครงการปลูกผักตามวิถีธรรมชาติ (ระยะเวลาดำเนินโครงการ ปี 2562-2566) และโครงการปล่อยปลาลงเขื่อน(ระยะเวลาดำเนินโครงการปี 2563-2566) ซึ่งทั้งสองโครงการเป็นการสร้างแหล่งอาหารในระดับชุมชน โดยซีพีเอฟใช้ความเชี่ยวชาญในการดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ พร้อมทั้งสนับสนุนการตั้งกองทุนหมุนเวียนเพื่อให้ชุมชนสามารถดำเนินโครงการได้อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ทั้งโครงการปลูกผักวิถีธรรมชาติและโครงการปล่อยปลาลงเขื่อน เป็นแหล่งอาหารที่ปลอดภัย และเป็นความยั่งยืนด้านอาหารของชุมชน สามารถเป็นต้นแบบในการขยายผลไปยังชุมชนอื่นๆ ต่อไป