เผยแพร่: ปรับปรุง: โดย: ผู้จัดการออนไลน์
ลพบุรี – ซีพีเอฟ สร้างจิตสำนึกตระหนักต่อคุณค่าและความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสู่เยาวชนและคนรุ่นใหม่ ขยายเครือข่ายและต่อยอดโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า จัด”ค่ายเยาวชน ปันรู้ ปลูกรักษ์ รุ่นที่ 1 โน โครงการ ซีพีเอฟรักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง จ.ลพบุรี
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ กิจกรรมค่าย เยาวชน ปันรู้ ปลูกรักษ์ (Green Sea We Share) ในครั้งนี้ เปิดโอกาสให้เยาวชนได้เรียนรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และได้ลงพื้นที่ปฏิบัติจริง โดยได้รับรู้ความเป็นมาของการฟื้นฟูป่าต้นน้ำเขาพระยาเดินธง จากป่าที่เสื่อมโทรมสู่ผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ จากคณะทำงานของซีพีเอฟที่มีส่วนร่วมอนุรักษ์และฟื้นฟูโครงการฯมาตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน
การสำรวจแม่ไม้ในแปลงเสริมป่า เพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ไม้สำหรับการเพาะกล้าและปั้น Seedball เรียนรู้วิธีการดูนก การประกอบอาหารตามวัตถุดิบที่ได้รับและการคิดค้นเมนูในการดำรงชีพในป่า กิจกรรมนักสำรวจน้อย เรียนรู้การฟื้นฟูป่าและการสร้างสมดุลของระบบนิเวศซึ่งเป็นแหล่งอาหารของสัตว์ป่า กิจกรรมแผนที่เสียง ฝึกฟังเสียงธรรมชาติ กิจกรรมจินตนาการจากใบไม้ วาดรูปร่างใบไม้ เป็นสัตว์ในจินตนาการ กิจกรรมป่าในฝัน ซึ่งเด็กๆ สร้างป่าในจินตนาการ โดยใช้เทคนิควาด ฉีก ตัดแปะ
นายนิตย์ ประจงแต่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดหนองตามิ่ง กล่าวว่า การจัดกิจกรรมค่ายกิจกรรมในวันนี้ เป็นประโยชน์ต่อนักเรียนอย่างมาก เป็นการสร้างความตระหนักในการรู้คุณค่าของสิ่งแวดล้อม และช่วยกันดูแลต้นไม้ เด็กๆสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับกลับมาใช้ประโยชน์กับที่โรงเรียนและที่บ้านได้จริง เพราะที่โรงเรียนก็มีการปลูกต้นไม้ไว้จำนวนมาก ถ้าซีพีเอฟมีการจัดกิจกรรมดีๆ เช่นในครั้งนี้อีก ทางโรงเรียนก็อยากจะส่งนักเรียนรุ่นอื่นๆเข้ามาร่วมกิจกรรมด้วย ถือว่าเป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ ให้เกิดความเชื่อมโยง เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนให้รู้จักแก้ไขปัญหา เข้าใจระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพ
ด.ญ.กัญชพร พูลหลำ หรือ น้องหวาน นักเรียนชั้น ป. 6 เล่าว่า น้องมีโอกาสได้เข้ามาสำรวจป่าเป็นครั้งแรก รู้สึกดีใจและภูมิใจ ที่ป่าในพื้นที่บ้านของเรามีความอุดมสมบูรณ์ พี่ๆซีพีเอฟเล่าว่า แต่ก่อนไม่มีใครเข้ามาฟื้นฟูป่า จนกระทั่งเมื่อปี 2559 พี่ๆเข้ามาช่วยกันอนุรักษ์และฟื้นฟู จนปัจจุบันเป็นป่าที่เต็มไปด้วยพันธุ์ไม้พื้นถิ่น และพันธุ์ไม้หายาก “หนูว่าเราไม่ควรจะตัดไม้ทำลายป่า และต้องช่วยกันปลุูกต้นไม้ให้เยอะๆ ” เพราะต้นไม้ช่วยสร้างอากาศที่บริสุทธิ์ให้กับโลก
ด.ช. สุริยา สุดจิตร์ หรือน้องแบงก์ นักเรียนชั้น ป.5 เล่าถึงความรู้สึกสนุกและประทับใจที่มีโอกาสมาป่าเป็นครั้งแรก ได้เรียนรู้พันธุ์ไม้หลายชนิด เช่น แคนา พะยูง สมอ นอกจากนี้ พวกเราได้ร่วมกิจกรรมปั้น Seedball เพื่อใช้ยิงเมล็ดพันธฺุ์ กลุ่มผมมีสมาชิก 9-10 คน ปั้นได้รวม 170 ลูก น้องแบงก์ บอกด้วยว่า กิจกรรมในครั้งนี้ รู้สึกชอบการส่องนกมากที่สุด เพราะได้เห็นนกที่หายาก และได้รับความรู้เกี่ยวกับนกชนิดต่างๆ
ด้าน ด.ช.วีรวัตร ศรีมาตร์ หรือ น้องบอส นักเรียนชั้น ป. 5 บอกว่า ได้มีโอกาสเข้าป่าเป็นครั้งแรก รู้สึกสนุกมาก และดีใจที่เรามีพันธฺุ์ไม้ที่หลากหลาย เช่น มะค่า มะเกลือ แคนา กิจกรรมครั้งนี้ ทำให้เราได้รับความรู้ที่สามารถนำกลับมาใช้ที่โรงเรียนและที่บ้านได้ด้วย เพราะที่โรงเรียนก็มีการปลูกต้นไม้เยอะ เรามาช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน รดน้ำต้นไม้ และผมคิดว่าเราต้องช่วยกันรักษาผืนป่าเอาไว้ ด้วยการไม่ตัดไม้ทำลายป่า และช่วยกันปลูกต้นไม้
ภายใต้แนวคิด “จากภูผาสู่ป่าชายเลน” เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ซีพีเอฟ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ป่าต้นน้ำและป่าชายเลน และโครงการกับดักขยะทะเล โดยมีเป้าหมายอนุรักษ์ ปกป้อง และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งกิจกรรมค่ายเยาวชน”ปันรู้ ปลูกรักษ์”ถือเป็นกิจกรรมนำร่องในการสานต่อเจตนารมณ์ดังกล่าว และเป็นการสร้างเครือข่ายด้วยการปลูกฝังและสร้างการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่ เพื่อเป็นต้นแบบในการส่งต่อไปสู่เยาวชนในวงกว้าง รับไม้ต่อในภารกิจร่วมอนุรักษ์และปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน